วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

กำมะเก่าบ้านเฮา

ข้าวสุก ต้องเปิ้งไห พร้อมหลั๋วดังไฟ น้ำกับหม้อนึ่ง

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติของข้าน้อย

ชื่อ : กิตติชัย ศรีตนไชย
ชื่อเล่น : เก๊ฟ
เกิดวันที่ : 13 ตุลาคม พ.ศ. 2527
เป็นบุตร ธิดาของ..............
ประวัติการศึกษา
- อนุบาล - ประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 : โรงเรียนราชานุบาล
- มัธยมศึกษาตอนต้น : โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (แผนกช่างอิเล็กทรอนิคส์) : วิทยาลัยเทคนิคน่าน
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (แผนกเทคนิคอุตสาหกรรม) : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ
- ระดับปริญญาตรี (สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ ) : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่
ปัจจุบัน
- กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
- ทำงานธุรการโรงเรียน (ตามโครงการคืนครูให้นักเรียน )

วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552

คุณลักษณะของเด็กวิศวะอุตสาหการ ( โดยรวม )

วิศวะอุตสาหการ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ INDUSTRIAL ENGINEERING
สัญลักษณ์ IE
มวลรวม มาตรฐาน 600 n แต่อาจแปรผันได้ตามเศรษฐกิจส่วนตัว
มวลสมอง แปรผกผันเป็นมวลและมีได้เกิน 1%
ลักษณะทางกายภาพ
-ภายนอกเถื่อนถ้ำภายในติ้งต๊อง
-พื้นผิวหมองคล้ำไม่ชวนต่อการสัมผัส
-เมื่อถูกเคาะอย่างรุนแรงจะเปล่งเสียงดังกังวานเป็นคำหยาบ
-แปรสภาพเป็นวัตถุเชิงแกร่ง เมื่อถูกสัมผัสโดยแผ่วเบา
-ถึงจุดเยือกแข็งได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่การแปรสภาพนั้นขึ้นอยู่กับชั่วโมงบิน
-เป็นของแข็งที่ประพฤติคล้ายไอศกรีมคาลิบโป คือดูดอมแต่ไม่ละลาย
-ไม่ทนต่อการเสียดสีโดยปราศจากสารหล่อลื่น
-สามารถเป็นผู้ออกแรงกระทำได้ดี
คุณสมบัติทางเคมี
-ทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วต่อน้องๆเฟรชชี่
-ทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับเด็กบัญชี วารสารเศรษฐศาสตร์และ เด็กต่างสถาบัน
-เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์กับสาวเกาะอกหรือสายเดี่ยว
-ไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุ Women ที่มีลักษณะสีค่อนข้างคล้ำ หรือดำ มวลมากกว่า 550N อายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป
-ดูดซึมและส่งผ่านข้อมูลวารสารใต้เข็มขัดได้อย่างรวดเร็ว
-มีสมบัติทำละลายเงินได้ดี เมื่อมีแอลกอฮอร์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
แบบทดสอบ
-วัตถุตัวอย่างจะมีอาการเซื่องซึมในเวลาราชการ
-วัตถุตัวอย่างจะรู้สึกสดชื่นและกระตือรือร้นเมื่อตะวันตกดิน
-วัตถุตัวอย่างจะช่วยรักษาธรรมชาติเป็นอย่างดีโดยการปล่อยสัตว์สงวนทั้งหลายออกมาเป็นจำนวนมากเมื่อวัตถุตัวอย่าง อยู่รวมกัน
-วัตถุตัวอย่างนิยมเล่นฟุตบอลทางโทรศัพท์มากกว่าทางเท้า
ประโยชน์
- สืบสานวัฒณธรรมโดยการใช้ภาษาสมัยพ่อขุนรามคำแหง
-เป็นตัวอย่างที่ดีต่อเยาวชนในสิ่งที่ผิด
-ช่วยชาติโดยบริจาคเงินผ่านกรมสรรพสามิต (สุราและยาสูบ)
ข้อควรระวัง
-ไม่ควรใช้คำสุภาพในการสนทนา เนื่องจากจะไม่ได้รับการสนใจใดๆ เพราะถือเป็นการไม่ให้เกียรติอย่างรุนแรง
-ห้ามพูดถึงเกรดเฉลี่ยหรือ Point สะสม เพราะถือเป็นการหยาบคายอย่างยิ่ง

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

เทคโนโลยีสารสนเทศ คืออะไร?

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน ความหมายของข้อมูล ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว ความหมายของสารสนเทศ สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

คำศัพท์ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

ศาสตร์การสอน (Science of Teaching) หมายถึงความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอนที่สังคมโลกได้สั่งสมมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการช่วยให้ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย / จุดหมาย / วัตถุประสงค์ของการสอนที่กำหนด ความรู้ ดังกล่าวได้มาจากการคิด การวิเคราะห์ของนักปราชญ์ และนักคิดทั้งหลายหรือได้มาจากาการศึกษา ค้นคว้าพิสูจน์ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักจิตวิทยาและนักการศึกษาต่างๆ ข้อความดังกล่าวประกอบด้วย ปรัชญาการศึกษา บริบททางการสอน ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ระบบ รูปแบบ วิธีการ เทคนิค และจิตวิทยาทางการเรียนรู้และการสอน การวางแผนและการออกแบบการจัดการเรียนการสอน การดำเนินการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สื่อและเทคโนโลยีทางการสอน นวัตกรรมการวิจัยการเรียนการสอนเป็นต้น

ศิลปะการสอน (Art of Teaching) หมายถึงความรู้และความสามารถในการนำจิตวิทยา วิธีการและเทคนิคต่างๆไปใช้ในการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีความน่าสนใจ สนุกมีชีวิตชีวา และช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ราบรื่นและมีความสุข

บริบททางการสอน (Teaching Context) หมายถึง สิ่งแวดล้อมที่เป้นทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน ซึ่งมีความสัมพันธ์ / มีอิทธิพลต่อการสอน ทั้งในระดับจุลภาค (micro) ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้ตัวผู้เรียนผู้สอนมากที่สุด ไปจนระดับมหภาค (macro) ซึ่งเป็นระดับที่ไกลตัวผู้เรียนมากที่สุด เช่นสภาพทางจิตใจและความรู้ทางวิชาการของผู้สอน สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกตัวผู้เรียน สภาพห้องเรียน บรรยากาศผู้บริหาร การบริหารงาน บุคลากรในโรงเรียน สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน สภาพทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของชุมชน ทรัพยากรในชุมชน นโยบายและแผนการจัดการศึกษาระดับชาติ การบริหารการศึกษาระดับชาติ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ความเคลื่อนไหวและความก้าวหน้าทางวิชาการของโลก เป็นต้น

ปรัญชาการศึกษา (Educational Philosophy) หมายถึงความคิดหรือระบบของความคิด ที่เกี่ยวกับการศึกษา ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของปรัชญาแม่บทปรัชญาใดปรัชญาหนึ่ง ปรัชญาการศึกษาเป็นปรัชญาที่แตกหน่อมาจากปรัชญาทั่วไปอันเป็นปรัชญาที่ว่าด้วยความรู้ความจริงของชีวิต ปรัชญาการศึกษาเป็นความเชื่อ ความศรัทธา การเห็นคุณค่าในความคิดทางการศึกษาใดๆ ซึ่งผลักดันให้บุคคลคิดและกระทำการต่างๆ ในด้านการจัดการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับ ความเชื่อนั้นๆ

ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory) หมายถึงข้อความรู้ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบตามกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆ หลายหลักการ

หลักการเรียนรู้ (Learning Principle) หมายถึงข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ ตามกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ และได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ หลักการเรียนรู้หลายๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้

แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ (Teaching / Instruction Theory) คือความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ ที่นักคิด นักจิตวิทยา หรือนักการศึกษาได้นำเสนอและได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งว่าเป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือด้วย เหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง

ทฤษฎีการสอน (Teaching / Instruction Principle) คือ ข้อความรู้ที่ พรรณนา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบ และการยอมรับว่าเชื่อถือได้ ซึ่งนักจิตวิทยา หรือนักการศึกษาอาจพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงมาจากทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ ทฤษฎีการสอนหนึ่งๆ มักประกอบไปด้วยหลักการสอนย่อยๆ หลายหลักการ หลักการสอน (Teaching / Instruction) คือ ข้อความรู้ย่อยๆ ที่พรรณา / อธิบาย / ทำนาย ปรากฎการณ์ต่างๆ ทางการสอน ที่ได้รับการพิสูจน์ ทดสอบและการยอมรับว่าเชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ในการสอนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด หลักการสอนหลายๆ หลักการ อาจนำไปสู่การสร้างเป็นทฤษฎีการสอนได้

แนวคิดทางการสอน (Teaching / Instruction / Concept / Approach) คือ ความคิดที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่พรรณา / อธิบาย / ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ ทางการสอนที่นักคิด นักจิตวิทยา หรือนักการศึกษา ได้นำเสนอ และได้รับการยอมรับในระดับหนึ่งว่าเป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือด้วย เหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง

ระบบการสอน / ระบบการเรียนการสอน (Teaching / Instruction / Model) คือแบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี / หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดำเนิน การสอนดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี / หลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการที่มีลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนดซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นแบบแผนหรือแบบอย่างในการจัดและดำเนินการสอนอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเช่นเดียวกันได้ วิธีสอน คือ ขั้นตอนที่ผู้สอนดำเนินการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ ที่แตกต่างกันไปตามองค์ประกอบและขั้นตอนสำคัญอันเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะเฉพาะที่ขาดไม่ได้ของวิธีนั้นๆ เช่น วิธีสอนโดยใช้การบรรยาย องค์ประกอบสำคัญของการบรรยาย คือ เนื้อหาสาระที่จะบรรยาย และการบรรยาย และขั้นตอนสำคัญคือ การเรียมเนื้อสาระ การบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย) และการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการบรรยาย ดังนั้นวิธีสอนโดยใช้การบรรยาย ก็คือกระบวนการหรือขั้นตอนที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย แล้วบรรยายก็คือพูด บอก เล่า อธิบาย เนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียนและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนวิธีใดวิธีหนึ่ง


เทคนิคการสอน คือ กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใดๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการหรือการกระทำนั้นๆ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นเทคนิคการสอนหรือดำเนินการสอนใดๆ เพื่อช่วยให้การสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ในการบรยาย ผู้สอนอาจใช้เทคนิคต่างๆ ที่สามารถช่วยให้การบรรยายมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การยกตัวอย่าง การใช้สื่อ การใช้คำถาม เป็นต้น

ทักษะการสอน คือ ความสามารถในการปฎิบัติการสอนด้านต่างๆ อย่างชำนาญซึ่ง ครอบคลุมการวางแผนการเรียนการสอน การออกแบบการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน การใช้วิธิสอน เทคนิคการสอน รูปแบบการเรียนการสอน ระบบการสอน สื่อการสอน การประเมินผลการเรียนการสอน รวมทั้งการใช้ทฤษฎีและหลักการเรียนรู้และการสอนต่างๆ

นวัตกรรมการสอน คือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้น ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ดังนั้น นวัตกรรมการสอนึงหมายถึงแนวคิด วิธีการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งอาจเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือใหม่เพียงบางส่วน หรืออาจเป้นสิ่งใหม่ในบริบทหนึ่งหรือช่วงเวลาหนึ่ง หรืออาจเป็นสิ่งใหม่ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิสูจน์ทดสอบ หรือได้รับการยอมรับนำไปใช้แล้ว แต่ยังไม่แพร่หลายหรือเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานปกติ